กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศที่เสนอโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ
สิ่งแวดล้อม และเห็นชอบให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (National Information Technology
Committee) หรือที่เรียกโดยย่อว่า
"คณะกรรมการไอทีแห่งชาติ หรือ กทสช. (NITC)
ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางและประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง
ๆ ที่กำลังดำเนินการจัดทำกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
มีการเชื่อมโยงกันทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตย่อมมีข้อมูลสารสนเทศที่ส่งผ่าน
จากผู้ส่ง ไปยังผู้รับ และหากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น ไม่มีระบบความปลอดภัยที่ดี
หรือรัดกุม ข้อมูลนั้นอาจจะถูกปรับเปลี่ยน ถูกจารกรรม หรือถูกทำลายไป โดยที่ผู้ส่ง
และผู้รับ ไม่สามารถรับรู้ได้เลย
ผู้ใช้ควรจะมีคุณธรรมและจริยธรรมพื้นฐานที่ต้องปฏิบั ติควบคู่กับการใช้งาน เพื่อเป็นการใช้งานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ร่วมกันอย่าง
เหมาะสม ไม่ควรใช้งานโดยคำนึงแต่ผลประโยชน์ของตนเองเพียงฝ่าย
เดียวควรจะคำนึงถึงผู้อื่นและเคารพสิทธิผู้อื่นด้วย
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันบางประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีกฎหมายควบคุมสื่ออินเทอร์เน็ต
ก็ยังไม่สามารถควบคุมภัยล่อลวงต่าง ๆ
จากสื่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างเด็ดขาดเต็มที่โดยเฉพาะควบคุมดูแลการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารบนสื่ออินเทอร์เน็ตนั้นก็ยังเป็นปัญหาโดยเฉพาะการเผยแพร่สื่อสารลามกหรือบ่อนการพนัน
ซึ่งปัญหาดังกล่าว
นอกจากจะเกี่ยวข้องกับสิทธิส่วนบุคคลในการเข้าถึงข้อมูล
การก้าวก่ายสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชน
ยังอาจจะขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศอีกด้วย อีกทั้งลักษณะพิเศษของข้อมูลต่าง
ๆ ที่อยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่มีลักษณะเป็นใยแมงมุม
ซึ่งระบบกระจายความรับผิดชอบไม่มีศูนย์กลางของระบบ
และเป็นเครือข่ายข้อมูลระดับโลกยากต่อการควบคุม
และเป็นสื่อที่ไม่มีตัวตนหรือแหล่งที่มาที่ชัดเจน ทั้งผู้ส่งข้อมูล
หรือผู้รับข้อมูล ดังนั้นกฎหมายที่จะมากำกับดูแล หรือควบคุมสื่ออินเทอร์เน็ต
จะต้องเป็นกฎหมายลักษณะพิเศษ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
แต่ความแตกต่างในระบบการเมือง สังคม และวัฒนธรรม
ในแต่ละประเทศยังเป็นปัญหาอุปสรรคในการร่างกฎหมายดังกล่าวซึ่งปัจจุบันยังไม่ปรากฏผลเป็นกฎหมายยังคงอยู่ในระยะที่กำลังสร้างกฎเกณฑ์กติกาขึ้นมากำกับบริการอินเทอร์เน็ต
ทั้งนี้คณะกรรมการไอทีแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ
เพื่อยกร่างกฎหมายไอทีทั้ง 6 ฉบับ
โดยมอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and
Computer Technology Center) หรือที่มักเรียกโดยย่อว่า
"เนคเทค" (NECTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(National Science
and Technology Development Agency) หรือที่เรียกโดยย่อว่า
"สวทช." กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการไอทีแห่งชาติ
ทำหน้าที่เป็นเลขานุการในการยกร่างกฎหมายไอทีทั้ง 6 ฉบับ เนคเทคจึงได้เริ่มต้นโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้น
เพื่อปฏิบัติตามนโยบายที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลและคณะกรรมการไอทีแห่งชาติ
ในการยกร่างกฎหมายไอทีทั้ง 6 ฉบับ ให้แล้วเสร็จ คือ
1.กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic
Transactions Law)
เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ
อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่าง ๆ
ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่าเทียมกับนิติสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้นให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
และการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
2.กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
(Electronic
Signatures Law)
เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใด ๆ
ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
และกำหนดให้มีการกำกับดูแลการให้บริการ
เกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้ บริการอื่น
ที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
3.
กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน (National Information
Infrastructure Law)
เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน
และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ
สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่น ๆ
อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญในการพัฒนาสังคม และชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ
ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา 78 ในการกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน
และนับเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเองพัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน
และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญา และการเรียนรู้
4.กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
(Data Protection
Law)
เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ซึ่งอาจถูกประมวลผล
เปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี
จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล
ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว
เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ
5.กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(Computer Crime
Law)
เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม
6.
กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law)
เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
ทั้งที่เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการทำธุรกรรมทางการเงิน
และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น
แหล่งที่มา : http://www.kmitl.ac.th/agritech/nutthakorn/04093009_2204/isweb/Lesson%2027.htm
|
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
(Information Law) หรือมักเรียกกันว่า "กฎหมายไอที (IT Law) ในเบื้องต้น
ที่จำเป็นต้องมีการตรากฎหมายขึ้นใช้บังคับ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2541
คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบต่อการจัดทำโครงการพัฒนา
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศที่เสนอโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ
สิ่งแวดล้อม และเห็นชอบให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (National Information Technology
Committee) หรือที่เรียกโดยย่อว่า
"คณะกรรมการไอทีแห่งชาติ หรือ กทสช. (NITC)
ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางและประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง
ๆ ที่กำลังดำเนินการจัดทำกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
มีการเชื่อมโยงกันทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตย่อมมีข้อมูลสารสนเทศที่ส่งผ่าน
จากผู้ส่ง ไปยังผู้รับ และหากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น ไม่มีระบบความปลอดภัยที่ดี
หรือรัดกุม ข้อมูลนั้นอาจจะถูกปรับเปลี่ยน ถูกจารกรรม หรือถูกทำลายไป โดยที่ผู้ส่ง
และผู้รับ ไม่สามารถรับรู้ได้เลย
ผู้ใช้ควรจะมีคุณธรรมและจริยธรรมพื้นฐานที่ต้องปฏิบั ติควบคู่กับการใช้งาน เพื่อเป็นการใช้งานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ร่วมกันอย่าง
เหมาะสม ไม่ควรใช้งานโดยคำนึงแต่ผลประโยชน์ของตนเองเพียงฝ่าย
เดียวควรจะคำนึงถึงผู้อื่นและเคารพสิทธิผู้อื่นด้วย
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันบางประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีกฎหมายควบคุมสื่ออินเทอร์เน็ต
ก็ยังไม่สามารถควบคุมภัยล่อลวงต่าง ๆ
จากสื่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างเด็ดขาดเต็มที่โดยเฉพาะควบคุมดูแลการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารบนสื่ออินเทอร์เน็ตนั้นก็ยังเป็นปัญหาโดยเฉพาะการเผยแพร่สื่อสารลามกหรือบ่อนการพนัน
ซึ่งปัญหาดังกล่าว
นอกจากจะเกี่ยวข้องกับสิทธิส่วนบุคคลในการเข้าถึงข้อมูล
การก้าวก่ายสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชน
ยังอาจจะขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศอีกด้วย อีกทั้งลักษณะพิเศษของข้อมูลต่าง
ๆ ที่อยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่มีลักษณะเป็นใยแมงมุม
ซึ่งระบบกระจายความรับผิดชอบไม่มีศูนย์กลางของระบบ
และเป็นเครือข่ายข้อมูลระดับโลกยากต่อการควบคุม
และเป็นสื่อที่ไม่มีตัวตนหรือแหล่งที่มาที่ชัดเจน ทั้งผู้ส่งข้อมูล
หรือผู้รับข้อมูล ดังนั้นกฎหมายที่จะมากำกับดูแล หรือควบคุมสื่ออินเทอร์เน็ต
จะต้องเป็นกฎหมายลักษณะพิเศษ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
แต่ความแตกต่างในระบบการเมือง สังคม และวัฒนธรรม
ในแต่ละประเทศยังเป็นปัญหาอุปสรรคในการร่างกฎหมายดังกล่าวซึ่งปัจจุบันยังไม่ปรากฏผลเป็นกฎหมายยังคงอยู่ในระยะที่กำลังสร้างกฎเกณฑ์กติกาขึ้นมากำกับบริการอินเทอร์เน็ต
ทั้งนี้คณะกรรมการไอทีแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ
เพื่อยกร่างกฎหมายไอทีทั้ง 6 ฉบับ
โดยมอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and
Computer Technology Center) หรือที่มักเรียกโดยย่อว่า
"เนคเทค" (NECTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(National Science
and Technology Development Agency) หรือที่เรียกโดยย่อว่า
"สวทช." กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการไอทีแห่งชาติ
ทำหน้าที่เป็นเลขานุการในการยกร่างกฎหมายไอทีทั้ง 6 ฉบับ เนคเทคจึงได้เริ่มต้นโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้น
เพื่อปฏิบัติตามนโยบายที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลและคณะกรรมการไอทีแห่งชาติ
ในการยกร่างกฎหมายไอทีทั้ง 6 ฉบับ ให้แล้วเสร็จ คือ
1.กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic
Transactions Law)
เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ
อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่าง ๆ
ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่าเทียมกับนิติสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้นให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
และการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
2.กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
(Electronic
Signatures Law)
เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใด ๆ
ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
และกำหนดให้มีการกำกับดูแลการให้บริการ
เกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้ บริการอื่น
ที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
3.
กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน (National Information
Infrastructure Law)
เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน
และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ
สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่น ๆ
อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญในการพัฒนาสังคม และชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ
ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา 78 ในการกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน
และนับเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเองพัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน
และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญา และการเรียนรู้
4.กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
(Data Protection
Law)
เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ซึ่งอาจถูกประมวลผล
เปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี
จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล
ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว
เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ
5.กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(Computer Crime
Law)
เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม
6.
กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law)
เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
ทั้งที่เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการทำธุรกรรมทางการเงิน
และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น
แหล่งที่มา : http://www.kmitl.ac.th/agritech/nutthakorn/04093009_2204/isweb/Lesson%2027.htm
นางสาว จุไรรัตน์ น้อยรอด ม.5/1 เลขที่ 5
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น